คำถามที่พบบ่อย
ข้อมูลทั่วไป
1.
ประกันภัยภาคสมัครใจ คืออะไร?
การประกันภัยรถยนต์ที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์
ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์
เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ
หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก
2.
ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) คืออะไร?
พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมาย
ซึ่งเจ้าของรถยนต์หรือผู้ครอบครองมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ.2535 เพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเสียชีวิต ไม่รวมวงเงินความคุ้มครองตัวรถ
3.ภาษีรถยนต์คืออะไร?
ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องดำเนินการชำระทุกปี
เช่นเดียวกับภาษีเงินได้หรือภาษีอื่นๆ
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบก โทรศัพท์ : 02-271-8888 ต่อ 9313
(ในเวลาทำการ)
4. ทำไม
พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถต้องต่อทุกปี?
การต่อภาษีรถหรือเรียกอีกอย่างว่าการต่อทะเบียนรถนั้นจะได้รับป้ายสีเหลี่ยมจากกรมการขนส่งทางบกมาติดตรงหน้ารถ
หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ป้ายวงกลม” นั่นเอง ซึ่งหลังจากต่อพรบ.รถยนต์แล้ว
เจ้าของรถจะต้องทำการต่อภาษีรถด้วย
แต่หากเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป
จะต้องได้รับการตรวจสภาพรถประจำปีก่อนด้วย จึงจะสามารถต่อภาษีรถได้
ซึ่งเจ้าของรถต้องต่อทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถยนต์ทุกปี
เพื่อรับการคุ้มครองตามกฎหมายและให้รถสามารถวิ่งบนถนนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและปลอดภัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มติม / การร้องเรียนค่าสินไหมทดแทน / แจ้งเคลม
1.
ท่านสามารถติดต่อได้ที่ ?
- บมจ. เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) โทร. 1259 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
2.
เอกสารการเบิกค่าสินไหมประกันรถยนต์ มีเอกสารใดบ้างมีเอกสารใดบ้าง?
- รูปถ่ายความเสียหายของรถ
- ใบรับรองแพทย์ (ในกรณีมีผู้บาดเจ็บ)
- ใบขับขี่
- เอกสารอื่นๆที่จะช่วยในการเคลม
- เอกสารการจดทะเบียนรถยนต์
- ชื่อพยานที่เกี่ยวข้อง
- ใบเสร็จและใบแจ้งหนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆ
- ใบรับรองแพทย์ (ในกรณีมีผู้บาดเจ็บ)
- ใบขับขี่
- เอกสารอื่นๆที่จะช่วยในการเคลม
- เอกสารการจดทะเบียนรถยนต์
- ชื่อพยานที่เกี่ยวข้อง
- ใบเสร็จและใบแจ้งหนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ข้อมูลทั่วไป
1.
ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ สามารถนำไปยื่นวีซ่าเชงเก้นได้หรือไม่?
สามารถนำไปยื่นประกอบการขอวีซ่าเชงเก้นได้
เนื่องจากประกันภัยการเดินทางต่างประเทศของเราออกโดยบริษัทประกันที่ได้รับการยอมรับจากสถานทูตยุโรป
2.
ประเทศไหนบ้างที่ประกันเดินทางไม่คุ้มครอง?
ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศของ บมจ.เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย
(ประเทศไทย)
อัฟกานิสถาน, อาเซอร์ไบจาน, คิวบา, อิรัก, อิสราเอล, คีร์กีซสถาน, เลบานอน, ลิเบีย,
นิการากัว, เกาหลีเหนือ, ปากีสถาน, ปาเลสไตน์, ซีเรีย, ทาจิกิสถาน, เติร์กมินิสถาน,
อุซเบกิสถาน, อิหร่าน, เนปาล (ยกเว้นเฉพาะการไต่หน้าผาหรือการปีนเขา)
3.
สามารถเลื่อนวันคุ้มครองได้มั้ย?
สามารถเลื่อนวันเดินทางได้
แต่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
4.
หากเกิดพายุเข้าทำให้เที่ยวบินต้องล่าช้ากว่ากำหนดการเดินทางประกันการเดินทางจะคุ้มครองหรือไม่?
หากเที่ยวบินต้องออกเดินทางล่าช้าออกไปจากกำหนดการเดินทางตามที่กำหนดไว้
เนื่องจากสภาพอากาศไม่อำนวย ,การทำงานผิดพลาดของอุปกรณ์การบินของเครื่องบิน
หรือการนัดหยุดงานหรือการประท้วงโดยสายการบินพาณิชย์
หรือท่าอากาศบานที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้
ความคุ้มครองจะเกิดขึ้นทันทีหากกำหนดการเดินทางล่าช้าไปกว่ากำหนดการเดินทางที่กำหนดไว้
อย่างน้อย 6 ชั่วโมงติดต่อกัน
5.
หากติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)
ระหว่างเดินทางการประกันการเดินทางคุ้มครองหรือไม่
หากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
และต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลในต่างประเทศจะได้รับความคุ้มครองตามหมวดค่ารักษาพยาบาลโดยพิจารณาจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามความจำเป็นทางการแพทย์
สอบถามข้อมูลเพิ่มติม / การร้องเรียนค่าสินไหมทดแทน / แจ้งเคลม
1.
ท่านสามารถติดต่อได้ที่ ?
- บมจ. เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) โทร. 1259 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
- ระหว่างเดินทางในต่างประเทศ ติดต่อ MSIG Assist เบอร์โทรศัพท์ +66 2039 5704
- ระหว่างเดินทางในต่างประเทศ ติดต่อ MSIG Assist เบอร์โทรศัพท์ +66 2039 5704
2.
เอกสารการเบิกค่าสินไหมประกันการเดินทางต่างประเทศมีเอกสารใดบ้าง?
ผู้ขอเอาประกันภัยจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ
ดังต่อไปนี้เพื่อประกอบการเบิกค่าสินไหมทดแทน
ค่ารักษาพยาบาล กรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือผู้ป่วยใน (IPD)
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- รายงานการเจ็บป่วยจากแพทย์ หรือ แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมประกันเดินทางต่างประเทศส่วนที่แพทย์ได้กรอกข้อความในส่วนของใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ได้กรอกข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
- ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
การล่าช้าของเที่ยวบิน
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และ Boarding Pass
- จดหมายแจ้งจากผู้ที่มีอำนาจรับผิดชอบต่อการเดินทางเที่ยวนั้นถึงการล่าช้า
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
การพลาดการต่อเที่ยวบิน
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- หนังสือยืนยันการพลาดการต่อเที่ยวบินและระบุสาเหตุของการพลาดการต่อเที่ยวบินซึ่งออกโดยผู้ขนส่ง
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และ Boarding Pass
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
ความสูญเสียหรือความเสียหายของกระเป๋าเดินทางและ/หรือทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทาง
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- หนังสือยืนยันความสูญเสียหรือความเสียหาย (Property Irregularity Report) ที่ออกให้โดยผู้ขนส่ง ผู้บริหาร โรงแรม โดยระบุรายละเอียดของความสูญเสียหรือความเสียหาย กรณีการสูญเสียหรือความเสียหายนั้นอยู่ในความควบคุม ของพนักงานโรงแรมหรือบริษัทผู้ขนส่ง
- ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ ในกรณีที่มีการลักทรัพย์โดยปรากฎร่องรอยงัดแงะห้องพักของโรงแรมที่ผู้เอาประกันภัยลงทะเบียนเข้าพักในฐานะแขกของโรงแรม หรือการถูกจี้บังคับ ขู่เข็ญหรืถุกกระทำด้วยความรุนแรงเพื่อชิงกระเป๋าเดินทางและ/หรือทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทาง และ/หรืออุปกรณ์การเล่นกอล์ฟนั้น
- ภาพถ่ายความเสียหายของกระเป๋าเดินทาง และ/หรือทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทาง
- รายละเอียดของกระเป๋าเดินทางที่สูญเสีย หรือเสียหาย อาทิเช่น ยี่ห้อ รุ่นปีที่ผลิต ปีที่ซื้อ และราคา
- เอกสารที่ยืนยันการจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบิน หรือ โรงแรมที่พัก (กรณีที่ความเสียหาย หรือสูญเสียนั้นเกิดจากผู้ขนส่ง หรือโรงแรมที่พัก)
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
การล่าช้าของกระเป๋าเดินทาง
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทกำหนด
- หนังสือยืนยันความสูญเสียหรือความเสียหาย (Property Irregularity Report) ที่ออกให้โดยผู้ขนส่ง
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และรายละเอียดเที่ยวบิน
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทร้องขอตามความจำเป็น
การยกเลิกหรือการเลื่อนการเดินทาง
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทกำหนด
- ใบเสร็จรับเงินจากบริษัททัวร์ หรือสายการบิน ค่าที่พัก อาหาร ซึ่งระบุจำนวนเงินที่เรียกเก็บ
- ใบรับรองแพทย์ (กรณีการบาดเจ็บสาหัส หรือการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัว)
- สำเนาใบมรณบัตร (กรณีการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัว)
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทร้องขอตามความจำเป็น
กรณีอื่นๆ
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทกำหนด
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และ Boarding Pass
- สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
ค่ารักษาพยาบาล กรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือผู้ป่วยใน (IPD)
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- รายงานการเจ็บป่วยจากแพทย์ หรือ แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมประกันเดินทางต่างประเทศส่วนที่แพทย์ได้กรอกข้อความในส่วนของใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ได้กรอกข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
- ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
การล่าช้าของเที่ยวบิน
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และ Boarding Pass
- จดหมายแจ้งจากผู้ที่มีอำนาจรับผิดชอบต่อการเดินทางเที่ยวนั้นถึงการล่าช้า
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
การพลาดการต่อเที่ยวบิน
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- หนังสือยืนยันการพลาดการต่อเที่ยวบินและระบุสาเหตุของการพลาดการต่อเที่ยวบินซึ่งออกโดยผู้ขนส่ง
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และ Boarding Pass
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
ความสูญเสียหรือความเสียหายของกระเป๋าเดินทางและ/หรือทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทาง
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯกำหนด
- หนังสือยืนยันความสูญเสียหรือความเสียหาย (Property Irregularity Report) ที่ออกให้โดยผู้ขนส่ง ผู้บริหาร โรงแรม โดยระบุรายละเอียดของความสูญเสียหรือความเสียหาย กรณีการสูญเสียหรือความเสียหายนั้นอยู่ในความควบคุม ของพนักงานโรงแรมหรือบริษัทผู้ขนส่ง
- ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ ในกรณีที่มีการลักทรัพย์โดยปรากฎร่องรอยงัดแงะห้องพักของโรงแรมที่ผู้เอาประกันภัยลงทะเบียนเข้าพักในฐานะแขกของโรงแรม หรือการถูกจี้บังคับ ขู่เข็ญหรืถุกกระทำด้วยความรุนแรงเพื่อชิงกระเป๋าเดินทางและ/หรือทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทาง และ/หรืออุปกรณ์การเล่นกอล์ฟนั้น
- ภาพถ่ายความเสียหายของกระเป๋าเดินทาง และ/หรือทรัพย์สินส่วนตัวภายในกระเป๋าเดินทาง
- รายละเอียดของกระเป๋าเดินทางที่สูญเสีย หรือเสียหาย อาทิเช่น ยี่ห้อ รุ่นปีที่ผลิต ปีที่ซื้อ และราคา
- เอกสารที่ยืนยันการจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบิน หรือ โรงแรมที่พัก (กรณีที่ความเสียหาย หรือสูญเสียนั้นเกิดจากผู้ขนส่ง หรือโรงแรมที่พัก)
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯร้องขอตามความจำเป็น
การล่าช้าของกระเป๋าเดินทาง
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทกำหนด
- หนังสือยืนยันความสูญเสียหรือความเสียหาย (Property Irregularity Report) ที่ออกให้โดยผู้ขนส่ง
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และรายละเอียดเที่ยวบิน
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทร้องขอตามความจำเป็น
การยกเลิกหรือการเลื่อนการเดินทาง
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทกำหนด
- ใบเสร็จรับเงินจากบริษัททัวร์ หรือสายการบิน ค่าที่พัก อาหาร ซึ่งระบุจำนวนเงินที่เรียกเก็บ
- ใบรับรองแพทย์ (กรณีการบาดเจ็บสาหัส หรือการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัว)
- สำเนาใบมรณบัตร (กรณีการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัว)
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทร้องขอตามความจำเป็น
กรณีอื่นๆ
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทกำหนด
- สำเนาตั๋วเครื่องบิน และ Boarding Pass
- สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี (กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชี)
ข้อมูลทั่วไป
1.
ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันอุบัติเหตุหรือไม่?
ผู้ขอเอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพแต่จะต้องแถลงข้อมูลสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัยตามความเป็นจริง
2.
ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองอะไรบ้าง?
การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุ
โดยให้ความคุ้มครอง ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วโลก
3.
ระยะเวลาการประกันภัยของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเป็นอย่างไร?
ระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี
4.
ค่ารักษาพยาบาลที่ระบุในกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ
.ให้ความคุ้มครองรวมถึงค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยหรือไม่?
บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอา
ประกันภัยโดยอุบัติเหตุเท่านั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วย
5.
ผู้รับผลประโยชน์ของกรมธรรม์คือใคร?
ผู้รับประโยชน์ของกรมธรรม์คือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เอาประกันภัย
ซึ่งมักจะเป็นทายาทหรือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับผู้เอาประกันภัย เช่น
สามี ภรรยา มารดา บิดาและบุตร
6.
อายุที่สามารถรับความคุ้มครองได้ต้องมีอายุเท่าไหร่?
- สำหรับแผนอุ่นใจ ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีอายุระหว่าง 15 – 65 ปี
(สามารถต่ออายุได้ถึงอายุ 70 ปี)
- สำหรับแผนกระดูกหัก ผู้ขอเอาประกันภัยมีอายุระหว่าง 1 เดือน – 70 ปี (สามารถต่ออายุได้ถึงอายุ 75 ปี) กรณีผู้ขอเอาประกันภัยเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
- สำหรับแผนกระดูกหัก ผู้ขอเอาประกันภัยมีอายุระหว่าง 1 เดือน – 70 ปี (สามารถต่ออายุได้ถึงอายุ 75 ปี) กรณีผู้ขอเอาประกันภัยเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
7.
จากแผนประกันภัยอุบัติเหตุระบุว่าอาชีพที่รับประกันคือ ชั้นอาชีพ 1- 2
ซึ่งแต่ละชั้นอาชีพหมายถึงอะไร?
ชั้นอาชีพ 1 ลักษณะงานส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน
และทำงานที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักร เช่น ผู้บริหาร พนักงานบริษัท แพทย์
ชั้นอาชีพ 2 ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่อยู่นอกสำนักงาน หรือต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา เป็นกลุ่มช่างฝีมือที่มีความชำนาญ เช่น ตัวแทน/นายหน้า วิศวกร ช่างไม้
ชั้นอาชีพ 3 ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก หรือเป็นผู้ใช้แรงงาน หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ เช่น ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านช่าง นักแสดง นักข่าว
ชั้นอาชีพ 4 ลักษณะงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย
ชั้นอาชีพ 2 ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่อยู่นอกสำนักงาน หรือต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา เป็นกลุ่มช่างฝีมือที่มีความชำนาญ เช่น ตัวแทน/นายหน้า วิศวกร ช่างไม้
ชั้นอาชีพ 3 ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก หรือเป็นผู้ใช้แรงงาน หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ เช่น ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านช่าง นักแสดง นักข่าว
ชั้นอาชีพ 4 ลักษณะงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มติม / การร้องเรียนค่าสินไหมทดแทน / แจ้งเคลม
1.
ท่านสามารถติดต่อได้ที่ ?
- บมจ. วิริยะประกันภัย โทร. 02-129-7474 (ในเวลาทำการ) หรือ 1557 (ตลอด 24
ชั่วโมง)
2.
เอกสารการเบิกค่าสินไหมประกันอุบัติเหตุมีเอกสารใดบ้าง?
- แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
- ใบรับรองแพทย์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- สำเนาบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทประกันภัยร้องขอตามความจำเป็น
- ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
- ใบรับรองแพทย์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- สำเนาบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทประกันภัยร้องขอตามความจำเป็น
ข้อมูลทั่วไป
1.
ทำประกันภัยโรคมะเร็งต้องตรวจสุขภาพหรือไม่?
ผู้ขอเอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพแต่จะต้องแถลงข้อมูลสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัยตามความเป็นจริง
2.
สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition) คืออะไร?
หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1) โรคมะเร็งทุกชนิด ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยปีแรกมีผลบังคับ
2) อาการหรือความผิดปกติที่เป็นผลมาจากโรคมะเร็งทุกชนิดก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยปีแรกมีผลบังคับ ซึ่งมีนัยสำคัญเพียงพอที่ทำให้บุคคลทั่วไปต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย ดูแล หรือดำเนินการรักษา
1) โรคมะเร็งทุกชนิด ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยปีแรกมีผลบังคับ
2) อาการหรือความผิดปกติที่เป็นผลมาจากโรคมะเร็งทุกชนิดก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยปีแรกมีผลบังคับ ซึ่งมีนัยสำคัญเพียงพอที่ทำให้บุคคลทั่วไปต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย ดูแล หรือดำเนินการรักษา
3.
ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คืออะไร?
คือระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้เป็นระยะเวลา
90 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้เริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก
เพราะอาจปรากฏหรือทราบอาการของโรคมะเร็งหรือความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
ไม่ว่าประเภทหรือชนิดใดๆเกิดขึ้น
4.
คุ้มครองมะเร็งทุกระยะเลยหรือไม่?
แผนประกันโรคมะเร็ง Cancer Fix และ Full Fix
คุ้มครองโรคมะเร็งที่ตรวจพบเจอเป็นครั้งแรกทุกชนิดและทุกระยะ รวมถึงโรคมะเร็งผิวหนัง
(จะได้ความคุ้มครองตามทุนประกันภัยที่กำหนด)
ยกเว้นกรณีผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งภายในระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง
(Waiting Period) 90 วันนับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก
5.
อายุที่สามารถรับความคุ้มครองได้ต้องมีอายุเท่าไหร่?
ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีอายุระหว่าง 1 ปี – 54
ปีบริบูรณ์และสามารถต่ออายุได้ถึง 64 ปีบริบูรณ์
6.
สามารถซื้อประกันภัยมะเร็งได้คนละกี่ฉบับ?
ผู้เอาประกันภัยสามารถสมัครทำประกันภัยโรคมะเร็งของบริษัท MSIG
รวมกันทุกฉบับต้องไม่เกินทุนประกันภัย 1,000,000 บาท
7.
ชาวต่างชาติสามารถซื้อประกันภัยมะเร็งได้หรือไม่?
บริษัทประกันภัยของสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ขอเอาประกันภัยที่มีสัญชาติไทย
และมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มติม / การร้องเรียนค่าสินไหมทดแทน / แจ้งเคลม
1.
ท่านสามารถติดต่อได้ที่ ?
- บมจ. เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) โทร. 1259 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
2.
เอกสารการเบิกค่าสินไหมประกันโรคมะเร็งมีเอกสารใดบ้าง?
- แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหมกรมธรรม์ประกันมะเร็ง
- ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
- ใบรับรองแพทย์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- สำเนาบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทประกันภัยร้องขอตามความจำเป็น
- ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
- ใบรับรองแพทย์
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- สำเนาบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยพร้อมรับรองเอกสาร
- เอกสารอื่นๆที่บริษัทประกันภัยร้องขอตามความจำเป็น
1.
หากผู้เอาประกันภัยทำรายการซื้อเรียบร้อยแล้ว จะได้รับกรมธรรม์เมื่อไหร่?
- กรณีเลือกรับกรมธรรม์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์(E-Policy)
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับกรมธรรม์ทันทีหลังจากการชำระเงิน เรียบร้อยแล้ว
โดยกรมธรรม์จะส่งไปยังอีเมลของท่าน
- กรณีเลือกรับกรมธรรม์ทางไปรษณีย์ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับกรมธรรม์ภายใน 7 – 14 วัน ตามที่อยู่จัดส่งกรมธรรม์
- กรณีเลือกรับกรมธรรม์ทางไปรษณีย์ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับกรมธรรม์ภายใน 7 – 14 วัน ตามที่อยู่จัดส่งกรมธรรม์
2.
หากท่านพบปัญหาระหว่างขั้นตอนการชำระเงิน จะสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง?
ท่านสามารถเข้าสู่ระบบ และตรวจสอบสถานะการชำระเงินได้ด้วยตนเองที่
“ดูประวัติการซื้อประกัน” หรือสอบถามขั้นตอนได้ที่ 02-660-5999 (ในเวลาทำการ)
3.
สามารถชำระเงินในรูปแบบใดได้บ้าง?
ท่านสามารถชำระเบี้ยประกันภัยโดย
- บัตรเครดิต (Credit Card) สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกธนาคาร
- บัตรเดบิต (Debit Card) สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกธนาคาร
- QR Code
- T-Wallet
- บัตรเครดิต (Credit Card) สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกธนาคาร
- บัตรเดบิต (Debit Card) สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกธนาคาร
- QR Code
- T-Wallet